การงาน



เทคนิคการเชื่อม


กรรมวิธีการเชื่อมโลหะด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ เป็นกรรมวิธีที่อาศัยการอาร์ก ระหว่างปลายลวดเชื่อมกับชิ้นงานหลอมเป็นแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ จะต้องใช้ทักษะจากช่างเชื่อมในการปฏิบัติงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างเชื่อมหรือผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องรู้ถึงเทคนิค ต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานดังนี้



    2.1.2.4 ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและหลายครั้งจนเกิดความชำนาญ



รูปที่  130  แสดงถึงวิธีการเริ่มต้นอาร์กแบบเคาะ


   2.1.2  วิธีขีด  (Scratching)  หรือวิธีเขี่ยลวดเชื่อม  ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

รูปที่  131  แสดงถึงวิธีการเริ่มต้นอาร์กแบบขีด

  2.2  การเริ่มต้นและสิ้นสุดแนวเชื่อม 
คุณภาพของแนวเชื่อมนั้นไม่ได้ดูตรงส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นการเฉพาะแต่จะต้องดูตลอดทั้งแนว ช่างเชื่อมหลายคนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากละเลยข้อปฏิบัติการเริ่มต้น  และการสิ้นสุดแนวเชื่อม  จึงควรพิจารณาวิธีปฏิบัติดังนี้ 

 2.2.1  การเริ่มต้นเชื่อม  ควรเตรียมงานให้สะอาด  ปราศจากสิ่งต่าง ๆ เช่น  จาระบี  น้ำมันสนิมเพราะจะทำให้รอยเชื่อมที่ได้ไม่มีคุณภาพตามต้องการ การเริ่มต้นเชื่อมบริเวณจุด     เริ่มต้นของแนวเชื่อมจะเริ่มจากการทำให้เกิดการอาร์ก  เมื่อเกิดการอาร์กขึ้นแล้วให้ยกลวดเชื่อม
ขึ้นประมาณ  2  เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางลวดเชื่อม  ทำมุมเชื่อมตามลักษณะของรอยต่อ           แบบต่าง ๆ   ซึ่งมุมเชื่อมจะแตกต่างกันไป  หลังจากนั้นให้สร้างบ่อหลอมเหลวซึ่งจะกว้างประมาณ  1.5 – 2  เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางลวดเชื่อม  และต้องให้มีการซึมลึกอย่างสม่ำเสมอ


2.2.2  วีธีการเชื่อมเมื่อสิ้นสุดแนวเชื่อม  เมื่อทำการเชื่อมถึงจุดสุดท้ายของแนวเชื่อมจะเป็นแอ่งโลหะปลายแนวเชื่อม  (Crater)  ซึ่งเป็นจุดที่มีความแข็งแรงต่ำสุดของแนวเชื่อมและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดรอยร้าวขึ้นได้  จึงจำเป็นต้องเติมลวดเชื่อมที่ปลายแอ่งโลหะให้เต็ม โดยให้เดินย้อนกลับเล็กน้อย  แล้วหยุดเติมแอ่งปลายแนวเชื่อมให้เต็ม  ดังแสดงในรูปที่  132


รูปที่  132  แสดงถึงวิธีการเชื่อมเมื่อสิ้นสุดแนวเชื่อม


  2.3 การต่อแนวเชื่อม   ลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบหุ้มฟลักซ์  เมื่อเชื่อมจนปลายลวดเชื่อมเหลือประมาณ   38.10   มม. จะต้องมีการเปลี่ยนลวดเชื่อมใหม่และในการเปลี่ยนลวดเชื่อมใหม่      จะต้องมีการต่อแนวเชื่อม  ซึ่งจะต้องเป็นแนวเดียวกันกับแนวเดิม  และจะต้องมีความแข็งแรงและมีคุณสมบัติเท่ากับแนวเดิมด้วย  ซึ่งวิธีการต่อแนวเชื่อมมีวิธีการปฏิบัติดังนี้
 
2.3.1  ในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมยังร้อนอยู่  ให้เชื่อมต่อได้ทันที  ไม่ต้องเคาะทำความสะอาด  โดยให้เริ่มต้นอาร์กห่างจากแอ่งหลอมเหลวเดิมไปทางด้านหน้าประมาณ  ½  - 1 นิ้ว  ดังแสดงในรูปที่  133  เริ่มอาร์กที่จุด  แล้วจึงถอยหลังกลับไปที่จุด  B  ซึ่งเป็นบ่อหลอมละลายของแนวเชื่อมเดิม  (วิธีนี้ถ้าช่างเชื่อมขาดทักษะจะเกิดสแลกฝังในรอยเชื่อม)
 
2.3.2  ในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมเย็นแล้ว  ให้ทำความสะอาดโดยใช้ค้อนเคาะสแลก (Slag)  ออกและใช้แปรงลวดขัดให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง   หลังจากนั้นให้เริ่มต้นอาร์กห่างจากแอ่งหลอมเหลวเดิมไปทางด้านหน้าประมาณ  ½  นิ้ว – 1 นิ้ว  เช่นเดียวกับข้อ 2.3.1   ดังแสดงในรูปที่  133    เริ่มอาร์กที่จุด   แล้วจึงถอยหลังกลับไปที่จุด  ซึ่งเป็นบ่อหลอมเหลวของ  แนวเชื่อมเดิม
รูปที่  133  แสดงวิธีการต่อแนวเชื่อม รูปที่  136   แสดงการส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมท่าเหนือศีรษะ

   ข้อสังเกตในการต่อแนวเชื่อม  ไม่ควรเริ่มต้นอาร์กใหม่ข้างแอ่งโลหะ      ปลายแนวเชื่อมเพราะจะทำให้ความร้อนไม่เพียงพอที่จะหลอมเหลวเป็นเนื้อเดียวกันของแนวเชื่อม  และการเติมลวดเชื่อมตรงแนวต่อจะต้องควบคุมอย่าให้มากเกินไป  เพราะจะทำให้แนวเชื่อมนูนกว่าแนวเดิมแต่ถ้าเติมลวดเชื่อมน้อยเกินไป  จะทำให้แนวเชื่อมแบนและเกิดรอยแหว่ง 

 2.4  การเชื่อมแนวเส้นเชือก  หมายถึง  การเชื่อมโดยไม่ส่ายลวดเชื่อมขณะทำการเชื่อมเพียงแต่ควบคุมระยะอาร์ก  มุมของลวดเชื่อม  และความเร็วในการเดินลวดเชื่อมเท่านั้น  ซึ่งการเชื่อมแนวเส้นเชือกนี้  โดยทั่วไปจะใช้กับการเชื่อมในท่าขนานนอน  และท่าตั้งเชื่อมลง  เพราะถ้าส่ายลวดเชื่อมอาจทำให้แนวเชื่อมไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะเกิดรอยแหว่งขึ้นได้ 

 2.5  การเชื่อมส่ายลวดเชื่อม  หมายถึง  การลากลวดเชื่อมไปทางด้านข้างเพื่อให้แนวเชื่อมมีขนาดกว้างขึ้น  โดยทั่วไปแล้วความกว้างของแนวเชื่อมไม่ควรเกิน  5  เท่าของความโตลวดเชื่อม  การเลือกรูปร่างหรือแบบของการส่ายลวดเชื่อม จะต้องคำนึงถึงชนิดของรอยต่อขนาดของแนวเชื่อมและตำแหน่งท่าเชื่อมด้วย  การเชื่อมส่ายลวดเชื่อมนี้  โดยทั่วไปใช้เทคนิคนี้กับการเชื่อมรอยต่อร่องของตัววี  สำหรับงานหนา ๆ  และรอยเชื่อมฟิลเลทบนรอยต่อแบบต่าง ๆ  หรือการเชื่อมเสริมทับกันหลาย ๆ ชั้น  การเชื่อมส่ายลวดเชื่อมจะเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการเชื่อมไฟฟ้าแบบอาร์ก  แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในการเชื่อม  เช่น  เปลี่ยนแปลงมุมเอียงระยะอาร์ก  รูปแบบการส่ายลวดเชื่อม  จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของแนวเชื่อมอนึ่งการส่ายลวดเชื่อมในบางกรณี จะทำเพื่อให้รอยเชื่อมมีเกล็ดสวยเท่านั้น  โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ด้านอื่น ๆ การส่ายลวดเชื่อมอาจแบ่งตามลักษณะของตำแหน่ง         ท่าเชื่อมดังต่อไปนี้ 
 2.5.1 การส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อม ท่าราบ (Flat Surfaceดังแสดงใน
รูปที่  134  (จุดสีดำตามแนวด้านข้างรอยเชื่อม  หมายถึง  จุดที่หยุดเติมลวดเชื่อมเพื่อให้เติมลวดเชื่อมที่แนวด้านข้าง มากกว่าส่วนอื่น  เพื่อป้องกันการเกิดรอยแหว่งที่ขอบแนวเชื่อม)
รูปที่  134  แสดงการส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมราบ

2.5.2 การส่วยลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมท่าตั้ง (Vertical  Line)  ดังแสดงในรูปที่  135
รูปที่  135  แสดงการส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมท่าตั้ง

2.5.4  การส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อม  ท่าเหนือศีรษะ (Overhead)  ดังแสดงในรูปที่  136



















     ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“ส่งงานการถ่ายรูปสินค้า”

ภาพ : กระจกส่องแล้วสวย โดย : นางสาวสาไลลา แซะอาหลี ชั้น ม.6/1 เลขที่ 39 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล