ภาษาไทย

ความเป็นมา ขุนช้างขุนแผน
            เรื่องขุนช้างขุนแผน มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และเล่ากันต่อ ๆมาจนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาได้มีผู้นำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนเสภเพื่อใช้ในการขับเสภา จึงทำให้เรื่องนี้เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้น ครั้นเสียกรุงแล้วบางตอนก็สูญหายไป บางตอนยังมีต้นฉบับเหลืออยู่ เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายคนช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง

             การชุมนุมกวีครั้งนั้นจึงเป็นการประกวดฝีปากเชิงกลอนอย่างเต็มที่ ทำให้เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีความไพเราะเพราะพริ้งมากอย่างไรก็ตามได้มีนักขับเสภาระยะหลังได้แต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นอีกหลายสำนวนเพื่อใช้ขับเสภาเป็นตอน ๆ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชำระหนังสือเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นเพราะมีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ ทั้งฉบับหลวงและฉบับราษฎรโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ทรงเป็นประธานการชำระได้คัดเลือกเอาสำนวนที่ดีที่สุดมารวมกันจนครบทุกตอน บางตอนก็ไม่สามารถทราบนาม


หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็นวรรณคดีที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตามพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภา และได้รับประทับราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย หนังสือเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ไม่เพียงแต่เป็นวรรณคดีสำหรับอ่านกันเล่น เพื่อได้รับรสวรรณคดีเป็นเครื่องบันเทิงใจเท่านั้น หากแต่บางตอนในวรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานที่ให้ความรู้ในเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมกับที่มีคำกล่าวว่า วรรณคดีเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพความเป็นไปของบ้านเมืองในยุคนั้นๆ ให้คนรุ่นหลังๆ ได้ทราบด้วย
ที่มา https://www.dek-d.com/board/view/1940068/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“ส่งงานการถ่ายรูปสินค้า”

ภาพ : กระจกส่องแล้วสวย โดย : นางสาวสาไลลา แซะอาหลี ชั้น ม.6/1 เลขที่ 39 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล